ตัวอย่างแผนอพยพหนีไฟ

การเตรียมแผนอพยพหนีไฟ หรือแผนอพยพหนีไฟนั้น กําหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สนของพนักงานและของสถานประกอบการในขณะเกิดเพลิงเหตุไหม้ แผนอพยพหนีไฟที่กําหนดขึ้นนั้น ต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น หน่วยตรวจสอบจํานวนพนักงาน, ผู้นําทางหนีไฟ, จุดนัดพบ, หน่วยช่วยชีวิต และยานพาหนะ ฯลฯ และควรได้กําหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานโดยขึ้นตรงต่อผู้อํานวยการอพยพหนีไฟหรือผู้อํานวยการดับเพลิง เพื่อให้แผนการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ข้อมูลทางวิชาการจากกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดให้มีการปฏิบัติดังนี้ 1. ผู้นําทางหนีไฟ จะเป็นผู้นําทางพนักงานอพยพหนีไฟไปตามทางออกที่จัดไว้ 2. จุดนัดพบหรือเรียกอีกอย่างว่า “จุดรวมพล” จะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย ซึ่งพนักงานสามารถที่จะมารายงานตัวและทําการตรวจสอบนับจํานวนได้ 3. หน่วยตรวจสอบจํานวนพนักงานมีหน้าทตรวจนับจํานวนพนักงานว่ามีการอพยพหนีไฟออกมาภายนอกบริเวณที่ปลอดภัยครบทุกคนหรือไม่ หากพบว่าพนักงานอพยพหนีไฟออกมาไม่ครบตามจํานวนจริง ซึ่งหมายถึงยังมีพนักงานติดอยู่ในพื้นที่ที่เกิดอัคคีภัย หน่วยช่วยชีวิตและยานพาหนะ จะเข้าค้นหาและทําการช่วยชีวิตพนักงานที่ยังติดค้างอยู่ในอาคารหรือในพื้นที่ที่ได้เกิดอัคคีภัย รวมถึงกรณีของพนักงานที่ออกมาอยู่ที่จุดรวมพลแล้วมีอาการเป็นลม ช็อคหมดสติหรือบาดเจ็บเป็นต้น หน่วยช่วยชีวิตและยานพาหนะจะทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและติดต่อ หน่วยยานพาหนะให้ในกรณีที่พยาบาลหรือแพทย์พิจารณาแล้วต้องนําส่งโรงพยาบาล ตัวอย่างแผนอพยพหนีไฟ   ตัวอย่างแผนบรรเทาทุกข์ แผนบรรเทาทุกข์จากจากกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนั้น ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 1. การประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ 2. การสํารวจความเสียหาย 3. การรายงานตัวของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายและกําหนดจุดนัดพบเพื่อรอรับคําสั่ง 4. การช่วยชีวิตและขุดค้นหาผู้เสียชีวิต 5. การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ทรัพย์สินและผู้เสียชีวิต […]

Continue Reading